วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ส่งสัตว์เลี้ยงทางเครื่องบิน...

เรื่องการส่งสัตว์ข้ามจังหวัด ภายในประเทศ
เช่น กรุงเทพไปต่างจังหวัด หรือ ต่างจังหวัด มายังกรุงเทพ เขาทำกันยังไง การส่งสัตว์เลี้ยงภายในประเทศ ที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากเลย และไม่ต้องใช้เอกสารอะไรที่ยุ่งยากค่ะ วันนี้จะนำเรื่องนี้มาฝากเพื่อนๆค่ะ พูดง่ายๆคือ ใครๆก็ทำได้ ขอแค่มีบัตรประจำตัวประชาชน เท่านั้นก็พอค่ะ

การส่งสัตว์เลี้ยงมีชีวิต สามารถจะทำได้ โดยถ้าเป็นที่กรุงเทพ สามารถจะติดต่อส่งสัตว์เลี้ยงได้ที่
1. agency ของการบินไทย ที่หลานหลวง
2. Airport การบินไทย ที่ท่าอากาศยาน ดอนเมือง

ทางเว็บได้สอบถามข้อมูลนี้มาจากเจ้าหน้าที่ บริษัทตัวแทนของการบินไทยค่ะ

การส่งสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ จะเป็นสุนัข และแมว กระต่ายก็มีบ้าง แกสบี้ แต่ถ้าเป็น hamster นั้นเจ้าหน้าที่ยังไม่แน่ใจค่ะ แต่เจ้าหน้าที่บอกว่า "คิดว่า น่าจะส่งได้" (อย่างไร ถ้าใครจะส่งให้ลองโทรไปสอบถามอีกทีนะคะ ถ้าใครจะส่ง hamster )

เอกสาร

ก็ไม่มีอะไรมากค่ะ เตรียมบัตรประชาชนไปก็พอค่ะ โดยให้ไปก่อนรอบเครื่องออก 2 ชั่วโมงค่ะ เพื่อนๆ สามารถจะตรวจสอบรายละเอียดเที่ยวบินได้จากที่นี่ค่ะ
http://www.thaicargo.com/timeset.htm

การเตรียมตัวสำหรับสัตว์เลี้ยง


ต้องมีการ Packing ดีๆ ค่ะ มีกรงที่แข็งแรง (ถ้ามีใบรับรองจากสัตวแพทย์ก็ดี แต่ไม่มีก็ไม่มีปัญหาค่ะ )
(การให้น้ำสัตว์เลี้ยงนั้น ตามกฏเจ้าของจะต้องน้ำให้ก่อนเครื่องออก 2 ชม หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้เอง ) และจะต้องจ่าหน้าผู้รับ ผู้ส่งให้ถูกต้องตามหน้าบัตรประชาชนค่ะ และระบุเบอร์โทรผู้รับปลายทาง และเบอร์โทรของผู้ส่งที่ต้นทางให้เรียบร้อย
ย้ำนะคะ ว่า ชื่อและนามสกุลจะต้องถูกต้อง มิฉะนั้น ผู้รับอาจจะไม่สามารถรับสัตว์เลี้ยงได้ค่ะ

หลังจากนั้นก็จะผ่านการชั่งน้ำหนักค่ะ โดยจะมีการคิดค่าระวางตามน้ำหนัก โดยจะชั่งพร้อมกันทั้งสัตว์เลี้ยงและกรงค่ะ กิโลกรัมละประมาณ 30 บาท
เรื่องค่าระวางนั้น ตรวจสอบได้จากที่นี่ค่ะ http://www.thaicargo.com/freightset.htm

แล้วสัตว์เลี้ยงก็จะถูกโหลดเข้าใต้เครื่องค่ะ โดยสิ่งมีชีวิตจะแยกอยู่คนละห้องกับห้องสัมภาระ ซึ่งที่ห้องที่สัตว์เลี้ยงอยู่ จะอุณหภูมิคงที่ และเย็นกว่าห้องสัมภาระ คือ อุณหภูมิจะเหมาะสม และ ไม่ร้อนค่ะ


ความปลอดภัยของสัตว์เลี้ยง

เจ้าหน้าที่ไม่โยนกรงที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่แล้ว จะมีพนักงานที่พยายามดูแล
และเจ้าของสามารถ claim หรือเรียกค่าเสียหาย หากมีปัญหากับสัตว์ลี้ยงตามที่ระบุไว้ที่หน้าเอกสาร

ทีนี้ขั้นตอนการส่ง โดยรวมก็คือ
ผู้ส่ง

ผู้ส่งก็เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน และการPacking สัตว์เลี้ยงไว้ในกรงที่แข็งแรง เมื่อผู้ส่งทำการส่งสัตว์เลี้ยงเรียบร้อยพร้อมทำการชำระค่าระวางแล้ว เจ้าหน้าที่จะมีเอกสารให้ผู้ส่งเก็บเป็นหลักฐาน ซึ่งจะแจ้งรายละเอียดว่า สัตว์เลี้ยงนี้ จะถึงวันไหน เที่ยวบินอะไร เช่น TG221 ถึงปลายทางเชียงใหม่ ตอน 17.00 น. ก็ให้โทรบอกผู้รับที่ปลายทาง ให้มารับโดยบอกเวลาที่เครื่องจะถึง แล้วให้ผู้รับจดเที่ยวบิน และให้ผู้รับเอาบัตรประชาชนมาเป็นหลักฐานในการรับ

เพื่อนๆ สามารถจะดูรอบเพื่อส่งสัตว์เลี้ยงได้จากที่เว็บไซต์นี้ ค่ะ http://www.thaicargo.com/timeset.htm
เช่น ภาคเหนือ ก็ให้เข้าไปเลือก"เที่ยวบินขาออก" ซึ่งจะบอกเที่ยวบิน และเวลาเครื่องออก และเวลาเครื่องลงให้ครบหมด แถมมีบอกเบอร์โทรให้อีกต่างหาก ก็ให้ผู้ส่งไปก่อนเครื่องออก 2 ชั่วโมงค่ะ เพราะว่าเค้าจะปิดรับก่อนเครื่องออก 2 ชั่วโมง


ส่วนผู้รับ

ให้สอบถามรอบจากผู้ส่ง และจดเที่ยวบินไว้ และนำบัตรประชาชนมาเพื่อเป็นหลักฐานในการรับสัตว์เลี้ยง (ดังนั้นในการจ่าหน้าของผู้ส่ง ต้องระบุชื่อผู้รับให้ตรงกับบัตรประชาชนของผู้รับค่ะ จะได้ไม่มีปัญหา ในการรับ)
ในกรณีที่ไม่สะดวกมาเอง ให้ผู้อื่นถือบัตรประชาชนของ ท่านมารับสัตว์เลี้ยงแทนท่านได้ (สำหรับกรณีรับแทน ให้เขียนใบมอบฉันทะมาด้วยก็ดีค่ะ)
และเมื่อมารับสัตว์เลี้ยง เจ้าหน้าที่จะออกเอกสารไว้เป็นหลักฐานการมารับสัตว์เลี้ยงของท่าน

ผู้รับเองก็สามารถจะดูรอบได้จากเว็บเดียวกันเลยค่ะ แต่จะติดต่อรับของได้หลังจากเครื่องลงแล้ว 1 ชั่วโมงค่ะ

หากผู้ใด สนใจในรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ไหน

หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

1. ตัวแทนรับส่งพัสดุภัณท์ภายในประเทศ (หลานหลวง) ตั้งโดยเป็นทางการโดยการบินไทย 02-628-0004-5 FAX: 02-628-0006 ตั้งอยู่ที่ หลานหลวง เปิดบริการ 8.00-17.30 น. วันจันทร์ - ศุกร์

2. Airport การบินไทย คลังสินค้าภายในประเทศ ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ส่วน Cargo (ส่งได้ตลอด 24 ชม Airport)


กรณีการโทรสอบถามว่าสัตว์เลี้ยงถึงปลายทางหรือยังติดต่อที่

ขาเข้า(ภายในประเทศ) 02-535-2077, 05-5353821 (สอบถามกรณี ส่งจากต่างจังหวัดมากรุงเทพ)
ขาออก(ภายในประเทศ) 02-535-2078, 02-5354819 (สอบถามกรณี ส่งจากกรุงเทพ ไปต่างจังหวัด)
Fax Airport : 02-535-6257

ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ ตัวแทนรับส่งพัสดุภัณท์ภายในประเทศ (หลานหลวง) สำหรับข้อมูลพิเศษนี้ค่ะ
การขนส่งสัตว์เลี้ยงทางเครืองบิน กับต่างประเทศ

ก่อนอื่น เราควรจะทราบกฏกระทรวง เรื่องการนำเข้านำออก กันก่อนดีกว่าค่ะ ข้อมูลนี้ ทางเว็บได้รับอนุญาตในการเผยแพร่อย่างเป็นลายลักษณ์ อักษร จากกรมปศุสัตว์ (www.dld.go.th )


กฎกระทรวง
ว่าด้วยการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์
พ.ศ. ๒๕๔๔

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัด สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๑๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙

ข้อ ๒ การนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ให้ปฏิบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้

หมวด ๑
การนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร

ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ยื่นคำขอต่อสัตวแพทย์ประจำท่าเข้านั้น เว้นแต่จะนำเข้าทางอื่นซึ่งมิใช่ท่าเข้า ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

(๒) การยื่นคำขอ ให้ยื่นก่อนนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่ถ้าเป็นสัตว์หรือซากสัตว์ที่นำติดตัวเข้ามา จะยื่นคำขอขณะนำสัตว์หรือซากสัตว์นั้น เข้ามาก็ได้

(๓) หากผู้ขอนำเข้าประสงค์จะนำสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์หรือ ที่พักซากสัตว์ที่มิใช่ของกรมปศุสัตว์ สถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์นั้นจะต้องได้รับการตรวจรับรองตามระเบียบของกรมปศุสัตว์

ข้อ ๔ เมื่อสัตวแพทย์ประจำท่าเข้ารับคำขอและตรวจเอกสารหรือหลักฐานประกอบ การนำเข้าตามข้อ๓ถูกต้องแล้วให้พิจารณาว่าสัตว์หรือซากสัตว์นั้นต้องไม่ได้มาจากท้องที่ที่มีหรือสงสัยว่ามีโรคระบาด แล้วจึงเสนอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาออกใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักรพร้อมเงื่อนไขการนำเข้า (Requirement) ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด

ข้อ ๕ ให้ผู้นำเข้าที่ได้รับใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร แจ้งยืนยันรายละเอียดการนำเข้าต่อสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าเกี่ยวกับ

(๑) วัน เวลา ที่นำเข้า และ

(๒) เที่ยวบิน เที่ยวเรือ หรือเที่ยวขบวนรถไฟ หรือทะเบียนยานพาหนะที่ใช้บรรทุก สัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร

ข้อ ๖ ในการนำสินค้าประเภทสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักรโดยการ ขนส่งทางอากาศยานหรือทางเรือ เจ้าของอากาศยานหรือเจ้าของเรือจะต้องแจ้งรายการสินค้าประเภทสัตว์หรือซากสัตว์ที่บรรทุกมากับอากาศยานหรือเรือนั้น ให้กับสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าทราบก่อนที่อากาศยานหรือเรือนั้นจะเดินทางมาถึงท่าเข้า

ข้อ ๗ ในกรณีที่นำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักรโดยยานพาหนะใดๆ จะนำสัตว์หรือซากสัตว์นั้นลงจากยานพาหนะได้ต่อเมื่อสัตวแพทย์ประจำท่าเข้านั้นได้ตรวจและอนุญาตแล้ว

ข้อ ๘ ให้ผู้นำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักรแสดงหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ หรือหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ ซึ่งออกโดยสัตวแพทย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ของประเทศที่นำสัตว์หรือซากสัตว์นั้นมายื่นต่อสัตวแพทย์ประจำท่าเข้า

ข้อ ๙ เมื่อนำสัตว์หรือซากสัตว์ลงจากยานพาหนะแล้ว ให้ผู้นำเข้านำสัตว์หรือ ซากสัตว์นั้นไปยังสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ของท่าเข้า หรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พัก ซากสัตว์เพื่อการนำเข้าที่กรมปศุสัตว์รับรอง หรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ที่สัตวแพทย์ประจำท่าเข้ากำหนดเพื่อให้สัตวแพทย์ประจำท่าเข้าตรวจโรค และทำลายเชื้อโรคตามระเบียบของ กรมปศุสัตว์

ข้อ ๑๐ ในกรณีที่สัตวแพทย์ประจำท่าเข้ามีความสงสัยโดยมีเหตุอันสมควรว่าสัตว์หรือซากสัตว์ที่นำเข้ารายใดมีเชื้อโรคระบาด หรือมาจากฝูงสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือไม่มีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์หรือหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ กำกับมาพร้อมกับสัตว์หรือซากสัตว์ที่นำเข้า หรือมีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์หรือหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์แต่การรับรองนั้นไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงตามเงื่อนไขการนำเข้า (Requirement) ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด ให้สัตวแพทย์ ประจำท่าเข้ากักสัตว์นั้นไว้เพื่อพิสูจน์ได้เป็นเวลาไม่เกินหกสิบวัน หรือกักซากสัตว์นั้นไว้เพื่อพิสูจน์ได้เป็นเวลาไม่เกินสิบวัน

ข้อ ๑๑ เมื่อสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าได้ตรวจหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์หรือหนังสือ รับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ ถูกต้องตามข้อ ๘ และได้ดำเนินการตามข้อ ๙ หรือข้อ ๑๐ แล้ว ให้เสนอ ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตให้นำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีที่สัตว์หรือซากสัตว์นั้นเป็นโรคระบาดหรือพาหะของโรคระบาดให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการนั้น

ข้อ ๑๒ สัตว์หรือซากสัตว์ที่นำเข้าโดยปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามความในหมวดนี้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะผ่อนผันอนุญาต ให้นำเข้าตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ก็ได้

ข้อ ๑๓ สัตว์หรือซากสัตว์ที่อยู่ในระหว่างการกักตรวจตามข้อ ๑๐ ให้เจ้าของเป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบและออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น

ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้นำเข้ารายใดได้รับใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักรแล้ว หากสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าเห็นว่าในขณะนั้นกำลังมีโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคระบาดในท้องที่ ที่จะมีการนำสัตว์หรือซากสัตว์นั้นเข้ามา ให้สัตวแพทย์ประจำท่าเข้าเสนอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งระงับการนำเข้านั้น

หมวด ๒
การนำสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร

ข้อ ๑๕ ผู้ใดประสงค์จะนำสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ยื่นคำขอต่อสัตวแพทย์ประจำท่าออก

(๒) ถ้าเป็นสัตว์ที่ต้องมีตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายต้องมีตั๋วรูปพรรณแสดงกรรมสิทธิ์ แนบคำขอสำหรับสัตว์ที่ขอนำออกนั้นทุกตัว

(๓) ให้นำสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ของท่าออก หรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว ์เพื่อการส่งออกที่กรมปศุสัตว์รับรอง หรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ที่สัตวแพทย์ประจำท่าออกกำหนด เพื่อให้สัตวแพทย์ประจำท่าออกตรวจโรคและทำลายเชื้อโรค หรือจัดการอย่างอื่นใดตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ เว้นแต่ในกรณีของซากสัตว์ ซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าได้จัดการทำลายเชื้อโรคแล้ว

(๔) สัตว์หรือซากสัตว์ที่อยู่ในระหว่างการจัดการตาม (๓) ให้เจ้าของเป็นผู้ควบคุม ดูแลรับผิดชอบและออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น

ข้อ ๑๖ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๑๕ แล้ว ให้สัตวแพทย์ประจำท่าออกที่รับคำขอนำสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรเสนอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณา ออกใบอนุญาตให้นำสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรและออกหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์หรือหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์

ข้อ ๑๗ สัตว์หรือซากสัตว์ที่เจ้าของได้รับอนุญาตให้นำออกนอกราชอาณาจักรได้แล้ว ในกรณีที่สัตวแพทย์ประจำท่าออกสั่งระงับการนำออก หรือไม่อาจนำออกได้ด้วยเหตุใดๆ ก็ดีให้เจ้าของรับคืนเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้นำออกได้

หมวด ๓
การนำสัตว์หรือซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักร

ข้อ ๑๘ การนำสัตว์หรือซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักร ให้ปฏิบัติตามความในหมวด ๑ และหมวด ๒ โดยอนุโลม ในกรณีที่อธิบดีเห็นควรผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งผ่อนผันวิธีปฏิบัติการบางอย่างได้

หมวด ๔
คำขอและใบอนุญาต

ข้อ ๑๙ คำขอรับใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ให้ทำตามแบบของกรมปศุสัตว์ ส่วนใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์ หรือซากสัตว์เข้าในหรือผ่านราชอาณาจักร หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ หรือหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ สำหรับสัตว์ หรือซากสัตว์ที่นำออกนอกราชอาณาจักรและใบอนุญาตให้นำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ให้ใช้แบบพิมพ์ของกรมปศุสัตว์
ให้ไว้ ณ วันที 5 เมษายน พ.ศ. 2544
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งสัตว์เลี้ยงออกไปยังต่างประเทศนั้น อาจจะต้องปฎิบัติตามกฏหมายของประเทศนั้นๆค่ะ เช่น อาจจะต้องการ สมุด ผลการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยงบางประเภท หรือ ต้องมีลายเซ็นต์ health certificate จากกรมปศุสัตว์ หรือ ใบรับรองพิเศษ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราต้องตรวจสอบกับประเทศที่เราจะนำเข้าสัตว์เลี้ยงค่ะ บางประเทศก็ต้องการ import permit หรือ ใบ ร 10 ซึ่งเป็นใบอนุญาตค้าสัตว์ หรือการรับรอง จากกรมศุลกากร หรืออย่างประเทศเยอรมัน ก็ ต้องการผลตรวจเลือดต้องส่งเลือดไปวิเคราะห์ก่อน ที่เยอรมัน เป็นต้น

แต่สำหรับกรณีที่นำเข้ามายังประเทศไทยนั้นจะง่ายกว่าการส่งออกค่ะ ถ้าเป็นสุนัขก็อาจจะมี healh certificate จากต้นทาง และสมุดวัคซีน เอาบัตรประชาชน มาใช้ในการรับ แต่โดยทั่วไปแล้วบัตรประจำตัวประชาชนอย่างเดียวก็เพียงพอแล้วค่ะ อาจจะเสียภาษีขาเข้า การนำเข้าสัตว์เลี้ยงไม่มาก ในนามบุคคลอาจจะไม่ต้องมีใบพิเศษอะไรค่ะ หรือถ้าต้องการง่าย ไม่ยุ่งยาก เราอาจจะจ้าง บริษัท shipping ให้มาดำเนินการแทนได้ค่ะ

เครดิตจาก http://www.rabbitcafe.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น